เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร รุ่...
ReadyPlanet.com


เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร รุ่น JAY-5Q (รุ่นเสียงเงียบ) มือสองใช้งานไม่ถึงปี 14,000 ถูกสุดๆ !!!


ขายเครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร รุ่น JAY-5Q (รุ่นเสียงเงียบ) (มือหนึ่ง 28,500) (สามารถต่อชุดพ่นยาได้) (แถมไส้กรอง1ชุด)(แถมหน้ากากออกซิเจน+สายออกซิเจน ให้เพียบบ) 

Line:thehippy01

Tel: 091-007-2777 (เติ้ล)

รายละเอียดตัวเครื่อง

กลไกการทำงานของเครื่องผลิตออกซิเจน (Oxygen Concentrator)
เครื่องผลิตออกซิเจนทำงานโดยอาศัยหลักการ Pressure Swing Absorption หรือ PSA โดยจะใช้ซีโอไลท์ (Zeolite) เพื่อทำการดูดซับไนโตรเจนออกจากอากาศที่มีความดันสูง ไนโตรเจนจะยึดตัวติดกับผิวของซีโอไลท์และไนโตรเจนจะถูกปล่อยออกมาพร้อมกับออกซิเจนที่เกือบจะบริสุทธิ์ โดยทั่วไปออกซิเจนที่ได้จากเครื่องผลิตออกซิเจนจะมีสิ่งเจือปนคือ อาร์กอน, CO₂, และไอน้ำเล็กน้อย ออกซิเจนจากเครื่องออกซิเจนนี้จะมีความบริสุทธิ์ได้สูงสุดที่ 96% เครื่องผลิตออกซิเจนใช้สำหรับในทางการแพทย์เพื่อบำบัดผู้ป่วยที่ขาดออกซิเจนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง เครื่องผลิตออกซิเจน JAY-5Q เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการได้รับออกซิเจนเสริมอย่างต่อเนื่อง

รายละเอียดคุณสมบัติ

  • อัตราการไหลของออกซิเจน 0-5 ลิตร/นาที
  • ความเข้มข้นออกซิเจน 93% (±3%)
  • สามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง / อายุการใช้งานยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง
  • กำลังไฟ < 350 วัตต์
  • ใช้กับไฟ AC220V 10%, 50/60 1Hz : AC110V 10%, 50/60 1Hz
  • มีฟังก์ชั่นพ่นยา มาพร้อมกับชุดอุปกรณ์พ่นยา
  • ความดัน 0.04 - 0.07 Mpa
  • ระดับเสียงไม่เกิน 43 เดซิเบล
  • ขนาด 280 x 348 x 510 มม.
  • น้ำหนัก 16 กก.
  • มีแจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องและความดันผิดปกติ
  • สามารถตั้งเวลาปิดได้ 10 นาที ถึง 40 ชั่วโมง
  • หน้าจอแสดงผล แสดงรายละเอียด
    • Operating Pressure (แรงดันเครื่อง)
    • % Oxygen Purity 0 - 99 (ตัวเลขแสดงผลเปอร์เซ็นต์ออกซิเจน)
    • Present Working Time (เวลาแสดงขณะเปิดเครื่อง)
    • Accumulating Time (เวลาสะสมในการใช้เครื่อง)

 

ข้อควรปฎิบัติในการเลือกเครื่องผลิตออกซิเจน

  • ตัวเครื่องควรที่จะสามารถผลิตออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์ มากกว่า 90% (±3%) ที่ระดับการจ่ายออกซิเจนสูงสุด
  • จะต้องมีตัวตรวจสอบออกซิเจน (Oxygen Monitor)
  • เครื่องผลิตออกซิเจนที่ดีต้องสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนาน ยิ่งใช้ได้ต่อเนื่องนานเท่าไหร่ยิ่งดี
  • มีอัตราการกินไฟต่ำ โดยให้ดูจากอัตราการกินไฟ (วัตต์ต่อชั่วโมง) ควรพิจารณาเลือกเครื่องที่มีอัตราการกินไฟต่ำ
  • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาไม่ควรจะมีราคาที่สูงเกินไป ควรพิจารณาเลือกเครื่องที่ต้องการ การดูแลต่ำที่สุด และไม่มีชิ้นส่วน
  • ที่ต้องเปลี่ยน เครื่องบางรุ่นต้องเปลี่ยนฟิวเตอร์ที่มีราคาแพงทุกๆ 15-30 วัน

*เครื่องผลิตออกซิเจนที่ดีจะต้องสามารถผลิตออกซิเจนที่มีความเข้มข้นที่ได้มาตรฐานตลอดเวลา ดังนั้นเครื่องต้องมีตัวตรวจสอบออกซิเจน และให้สัญญาณเตือนเมื่อมีความเข้มข้นไม่ได้มาตรฐาน* 

 

คำเตือนและการดูแลรักษาเครื่องออกซิเจน

1. ควรตั้งเครื่องไว้ในบริเวณที่โล่งหรือที่ให้ลมผ่านสะดวก ควรวางห่างจากกำแพง อย่างน้อย 1 ฟุต ไม่ควรวางเครื่องไว้ชิดกำแพง ห้ามวางเครื่องบนโฟม ฟูก พรม และหลีกเลี่ยงการวางเครื่องในพื้นที่ที่ไม่สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี

2. การเปิดปิดเครื่องแต่ละครั้งควรเว้นระยะเวลาให้เครื่องเซ็ตอัพอย่างน้อย 5 นาที

3. ก่อนใช้ฟังก์ชั่นพ่นยาต้องปรับระดับอัตราการไหลของออกซิเจนเป็น 0 ลิตรต่อนาที ก่อนทุกครั้ง

4. เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีไฟฟ้าดับหรือไม่มีไฟฟ้า

5. เครื่องจะไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีกระแสไฟฟ้าตกเกิน 10% จากกระแสไฟที่จ่าย

6. ในกรณีที่ไม่ใช้งานควรดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง

7. ในกรณีเคลื่อนย้ายเครื่องต้องวางเครื่องในแนวตั้งเท่านั้น และถอดกระป๋องนํ้าให้ความชื้น ออกจากเครื่องทุกครั้ง

8. ในกรณีเครื่องมีปัญหาขัดข้องหรือไม่สามารถใช้งานได้ กรุณาติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย

9. ควรหมั่นทำความสะอาดภายนอกเครื่องโดยใช้ผ้าชุบนํ้าหมาดๆ เช็ดให้ทั่วและใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อ เช็ดอีกครั้งอย่างสมํ่าเสมอ

10. ควรทำความสะอาดไส้กรองข้างเครื่องทุกสัปดาห์ โดยล้างนํ้าและผึ่งลมให้แห้ง

11. ควรทำความสะอาดไส้กรองในเครื่องเป็นประจำทุกเดือน

12. ควรเปลี่ยนไส้กรองในเครื่องอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน (ติดต่อบริษัทฯ ผู้จัดจำหน่าย)

****ซื้อมาใช้งานได้ 9 เดือน ประกันเหลือ(3เดือน) ซื้อมา 28,500 บาท ขายเพียง 14,000 รวมส่ง เนื่องจากคุณปู่ได้เสียชีวิตจึงไม่มีใครใช้ต่อ***

รายละเอียดเพิ่มเติม 

Line:thehippy01

Tel: 091-007-2777 (เติ้ล)



ผู้ตั้งกระทู้ Pipat pramongkit (091-007-2777) (pipat2541-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2019-02-15 21:54:53


ก่อนหน้า1ถัดไป

ความคิดเห็นที่ 1 (4160004)

ปิดการขายนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pipat.p (pipat2541-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-02-20 13:59:29



ก่อนหน้า1ถัดไป


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล